- ปรับปรุงล่าสุด 16/10/2023
สงสัยใช่มั้ยคะว่าสิวที่ขึ้นบริเวณ คาง รอบกรอบหน้าและใกล้ๆกับปากของเรามันคือสิวอะไรกันแล้วชอบทิ้งรอยดำเอาไว้กวนใจเราอีกต่างหาก แต่ว่ามันคือ ลักษณะสิวแบบไหน กันนะ??
พี่รัศมีจะพามารู้จักกับสิวฮอร์โมนกันค่ะ จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่อเริ่มเข้าสู้วัยรุ่น จากนั้นวัยรุ่นถึงวัยกลางคนผู้หญิงจะมีสิวชนิดนี้มากกว่าผู้ชาย เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆเลยแหละ โดยจะขึ้นตอนก่อนช่วงมีประจำเดือน แถมยังทิ้งรอยสิวไว้ให้เจ็บใจกันอีกด้วยนะ
แต่คนที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือนก็ยังคงมีสิวประเภทนี้อยู่นะคะ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าเราจะรักษาได้ไง โดยบทความนี้ วิธีรักษาสิวฮอร์โมน ดูแลอย่างไรให้ผิวกลับมาสุขภาพดี มีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
สิวฮอร์โมน คืออะไร?
สิวประเภทนี้มักเกิดจาก ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล มีฮอร์โมนเพศชาย (Male sex hormone) หรือ แอนโดรเจน (Androgen) มากเกินไป ซึ่งจะทำให้ซีบัมหรือน้ำมันใต้ผิวหนังมีมากขึ้น จะทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน เกิดเป็นสิวอุดตัน เราจะสังเกตได้จากที่บางคนหน้ามันมากและขนดก ที่เกิดขึ้นในผู้หญิง ซึ่งเป็นปกติค่ะไม่ต้องกังวลไป
สิวฮอร์โมน มักจะเกิดขึ้นกับวัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงที่มีฮอร์โมนแปรปรวน และเสี่ยงต่อการเกิดสิวเพิ่มมากขึ้น เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 50 ปี
สิวฮอร์โมนมีลักษณะอย่างไร?
สิวไม่อักเสบ
สิวฮอร์โมนชนิดนี้ มีลักษณะเป็นสิวหัวดำและสิวหัวขาว เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมันส่วนเกินและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
สิวอักเสบ
สิวฮอร์โมนชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงและตุ่มหนอง เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนติดเชื้อแบคทีเรีย
สิวเรื้อรัง
สิวฮอร์โมนชนิดนี้เป็นรูปแบบที่รุนแรงของสิวซึ่งมีลักษณะเป็นซีสต์และก้อนขนาดใหญ่ที่เจ็บปวด มันเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนติดเชื้อลึกลงไปในผิวหนัง
สิวที่กราม
สิวฮอร์โมนชนิดนี้เกิดขึ้นตามแนวกรามและคาง มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะแอนโดรเจนที่มากเกินไป ซึ่งกระตุ้นต่อมไขมันและเพิ่มการผลิตน้ำมัน
สิวประจำเดือน
สิวช่วงมีประจำเดือนเป็นสิวฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในผู้หญิงระหว่างรอบเดือน โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นบริเวณคางและกราม และเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
สิวฮอร์โมนจะสามารถเกิดได้หนึ่งหรือสองครั้งในช่วงมีประจำเดือน หรือก่อนประจำเดือนมาไม่กี่สัปดาห์ แต่สำหรับหลายๆ คนสิวยังคงอยู่ได้ทั้งเดือนเลยค่ะ
บริเวณที่เกิดสิวฮอร์โมน
เราสามารถสังเกตุได้จากบริเวณ คาง แนวกราม และลำคอ และอาจมีลักษณะเป็นซีสต์หรือก้อนที่ลึกและเจ็บปวด รอยสิวประเภทนี้รักษาได้ยากกว่าสิวรูปแบบอื่นๆ และมักทำให้เกิดแผลเป็นหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา
สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร?
“เกิดจากรูขุมขนอุดตัน” เมื่อร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฮอร์โมนจะไปกระตุ้น การผลิตน้ำมันของผิวหนัง น้ำมันนี้ทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียบนรูขุมขนของผิวหนังบริเวณที่ขนขึ้น (รูขุมขน) และส่งผลให้เกิดสิว
รูขุมขนอุดตันเกิดมาจากอะไรกันนะ
การผลิตซีบัมส่วนเกิน
ซีบัมเป็นน้ำมันที่ผลิตโดยต่อมไขมันในผิวหนัง การผลิตไขมันส่วนเกิน ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือปัจจัยอื่น ๆ แล้วทำให้เกิดสิวอุดตัน
การสะสมตัวของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
เซลล์ผิวที่ตายแล้วสามารถสะสมบนชั้นผิวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับการขัดผิวหรือกำจัดออกเช่น การทำความสะอาดผิวอย่างเหมาะสม ก็จะกลายเป็น comedones และเกิดสิวอุดตันตามมาได้ค่ะ
การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
แบคทีเรียบนผิวหนังสามารถนำไปสู่การก่อตัวของ comedones โดยทำให้เกิดการอักเสบและการอุดตันของรูขุมขน
ช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
– วัยแรกรุ่น และการมีรอบเดือน
– การตั้งครรภ์
– วัยหมดประจำเดือน
– สภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น อาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
– ความเครียด การรับประทานอาหาร และการใช้ยาอาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและมีส่วนทำให้เกิดสิวฮอร์โมน
ตัวกระตุ้นที่ทำให้สิวฮอร์โมนแย่ลง
ความเครียดทำให้เกิดสิว
ความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิว และการอักเสบของผิวหนัง
อาหารกระตุ้นการเกิดสิว
อาหารบางชนิด เช่น นม น้ำตาล และอาหารแปรรูป สามารถกระตุ้นความไม่สมดุลของฮอร์โมนและเพิ่มการผลิตฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดสิว
ช่วงมีประจำเดือนทำให้เกิดสิว
สิวฮอร์โมนมักเชื่อมโยงกับรอบเดือน โดยสิวจะเกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือน
ยาทำให้เกิดสิว
ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด สามารถปรับระดับฮอร์โมนและกระตุ้นให้เกิดสิวฮอร์โมนได้
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่สามารถทำให้เกิดสิว
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เข้มข้นเกินไปหรือมีส่วนผสมที่อุดตันรูขุมขน อาจทำให้สิวฮอร์โมนแย่ลงได้
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว จะสามารถแบ่งออกเป็นการรักษาเพื่อลดการผลิตน้ำมัน และลดการก่อตัวของสิว และลดการอักเสบ เช่น
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน โดยใช้ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide)
เป็นสารต้านแบคทีเรียที่ทำงานโดยการฆ่าแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว ลดการอักเสบ และช่วยให้รูขุมขนไม่อุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยผลัดเซลล์ และ ลดเลือนรอยแผลเป็นจากสิว เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์มีประสิทธิภาพในการรักษาสิวระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีความเข้มข้นตั้งแต่ 2.5% ถึง 10%
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน โดยใช้ กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
เป็นกรดเบต้าไฮดรอกซีทำหน้าที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวและทำให้รูขุมขนไม่อุดตัน ลดการอักเสบของผิว และช่วยลดรอยแดงและบวมเกิดจากสิวได้ กรดซาลิไซลิกมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวเล็กน้อยถึงปานกลาง มีความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5% ถึง 5%
วิธีรักษาสิวฮอร์โมน โดยใช้ เรตินอยด์(Retinoids)
เรตินอยด์เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอ ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อผลัดเซลล์และลดการอักเสบ ช่วยเปิดรูขุมขนให้รูขุมขนไม่อุดตันและสามารถลดรอยแผลเป็นจากสิว เรตินอยด์บางชนิดเราต้องได้รับจากใบสั่งยาโดยแพทย์ เพราะอาจจะอันตรายหากใช้ไม่ถูกนั่นเองค่ะ ครีมที่มีส่วนผสมของเรตินอยด์สามารถรักษาสิวได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงสิวประเภทรุนแรง แต่อาจจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังและต้องใช้เวลาปรับตัวก่อนที่จะได้ผล
– สิวหัวดำและสิวหัวขาว: ครีมเฉพาะที่ เช่น Tretinoin
– สิวอักเสบ: เรตินอยด์เฉพาะที่ หรือ ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ และ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์(benzoyl peroxide)
– สิวปานกลางถึงรุนแรง: ยาปฏิชีวนะ หรือ เรตินอยด์
– สิวเรื้อรัง: การฉีดสเตียรอยด์
วิธีอื่นๆในการรักษาสิวฮอร์โมน
– วิธีรักษาสิวฮอร์โมน โดยทำความสะอาดผิวทุกวัน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้รูขุมขนของเราอุดตัน ไม่ว่าจะเป็น โฟมล้างหน้า ครีมกันแดดสำหรับคนเป็นสิว หรือ มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ควรเลือกเป็นสูตรที่เฉพาะคนเป็นสิว
– วิธรักษาสิวฮอร์โมนโดยการใช้ยาคุมกำเนิด สามารถช่วยให้ฮอร์โมนของคุณสมดุล รวมถึงฮอร์โมนที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว แต่ต้องทำการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้นะคะ
– วิธีรักษาสิวฮอร์โมน โดยการเปลี่ยนอาหารและเลือกทานอาหาร เช่น ลดน้ำตาล คาร์โบไฮเดคต และ ลดผลิตภัณฑ์จากนม “นมได้รับการพิสูจน์แล้วว่ากระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ที่บริโภคมัน และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่พุ่งสูงขึ้นอาจทำให้สิวแย่ลง”
– วิธีรักษาสิวฮอร์โมนด้วยเลเซอร์ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ส่งท้ายบทความ วิธีรักษาสิวฮอร์โมน
วิธีรักษาสิวฮอร์โมนไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ขอให้มีความอดทนและมีความสม่ำเสมอในการรักษา หรือเป็นไปตามวัยของเรา สิวฮอร์โมนก็จะหายไปเอง หากว่าเราไม่มีความมั่นใจแล้วอยากจะทำการรักษา ก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะจุดกับสิวเราได้เลย หรือใครอยากจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็ยิ่งดีค่ะ เพื่อเสริมความมั่นใจกลับมาให้กับเรา พี่รัศมีหวังว่าทุกคนจะค้นพบวิธีรักษาสิวที่เหมาะสำหรับตัวเองและดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไปอีกนะคะ หากใครอยากรู้วิธีกำจัดรอยดำและรอยแผลเป็นจากสิวล่ะก็อย่าลืมเช็ค 10 ครีมรักษาแผลเป็นจากสิวที่ดีที่สุดในปี 2023 พี่รัศมีได้เขียนบทความดีๆให้ทุกคนได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีกันนะคะ เจอกันบทความถัดไปค่ะ บ๊ายบาย