- ปรับปรุงล่าสุด 04/20/2023
รู้หรือไม่คะว่า สิว นั้นมีอยู่หลายประเภททั้ง สิวฮอร์โมน และ สิวแบคทีเรีย โดยสาเหตุของการเกิดสิวก็สามารถบอกพฤติกรรมของเราได้ บางทีสิวอาจจะเกิดจากปัจจัยภายในในร่างกาย หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกได้เช่นกันนะ ฉะนั้นแล้วเนี่ย พี่รัศมีจะพาทุกคนมาดูว่า สิวที่เรามีนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่ แล้วเราจะรักษาแบบไหนให้ทุกประเภทกับสิวของเรา
เมื่อรู้แบบนี้นี้แล้วตามพี่รัศมีมากันดีกว่า เพื่อมาทำความรู้จักกับสิวทั้งจากฮอร์โมนและสิวจากแบคทีเรีย เพื่อที่จะได้รู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องสิวๆและหาวิธีการรักษาที่ตรงจุดมากที่สุด
สิวฮอร์โมน คืออะไร?
สิวประเภทนี้มักเกิดจาก ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล มีฮอร์โมนเพศชาย (Male sex hormone) หรือ แอนโดรเจน (Androgen) มากเกินไปซึ่งจะทำให้ซีบัม หรือน้ำมันใต้ผิวหนังมีมากขึ้น จะทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน เกิดเป็นสิวอุดตัน เราจะสังเกตได้จาก บางคนหน้าจะมันมากและขนดกในผู้หญิง ซึ่งเป็นปกติค่ะ
สิวฮอร์โมน มักจะเกิดขึ้นกับวัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงที่มีฮอร์โมนแปรปรวน และเสี่ยงต่อการเกิดสิวเพิ่มมากขึ้น
บริเวณที่เกิดสิวฮอร์โมน: คาง แนวกราม และลำคอ และอาจมีลักษณะเป็นซีสต์หรือก้อนที่ลึกและเจ็บปวด รอยสิวประเภทนี้รักษาได้ยากกว่าสิวรูปแบบอื่นๆ และมักทำให้เกิดแผลเป็นหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา
สาเหตุของสิวฮอร์โมนที่สามารถควบคุมได้
สิวฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด
ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญของสิวฮอร์โมน เนื่องจากกระตุ้นการผลิต คอร์ติซอล ระดับคอร์ติซอลที่สูงสามารถกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้นและเกิดสิวอุดตัน ทำให้เกิดสิวขึ้นมานั่นเองค่ะ
นอนหลับไม่เพียงพอก่อให้เกิดสิวฮอร์โมน
ระหว่างการนอนหลับ ร่างกายจะผลิต เมลาโทนิน ซึ่งควบคุมการผลิตฮอร์โมนอื่นๆ เมื่อเรานอนหลับไม่เพียงพอ ระดับเมลาโทนินจะลดลง ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล รวมทั้งระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนจึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวค่ะ
การรับประทานอาหารที่กระตุ้นการเกิดสิวฮอร์โมน
อาหารบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์จากนมและอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเชื้อสิวได้ดีเลยล่ะค่ะ ควรลดการกินอาหารประเภทนี้และหันมากิน ผักและผลไม้ สามารถช่วยจัดการกับสิวได้
การไม่ออกกำลังกายจะกระตุ้นการเกิดสิวฮอร์โมน
การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนและลดความเครียด ซึ่งทั้งสองอย่างนี้คือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดสิว หากเราออกกำลังกายเป็นสม่ำเสมอก็จะช่วยได้ดีมากเลยค่ะ
สาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมนที่ควบคุมไม่ได้
สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในผู้หญิง
เช่น จากการมีรอบเดือน ประจำเดือนผิดปกติ ระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างวัยหมดประจำเดือน หรือหลังหยุดการคุมกำเนิด เกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะผันผวนและเกิดสิวขึ้นตามมา
สิวฮอร์โมนเกิดในผู้ชายที่เข้ารับการรักษาด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
การใช้ฮอร์โมนในเพศชายเป็นตัวกระตุ้นให้ระดับแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น และทำการกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น นำไปสู่การอุดตันของรูขุมขนและเกิดสิว
สิวฮอร์โมนเกิดจากประวัติครอบครัวเป็นสิว
ใครที่มีประวัติของคนในครอบครีวทำการรักษาสิว ไม่ต้องกังวลไปค่ะ สิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้จากทางนี้เช่นกัน โดยพันธุกรรมนั่นเอง
ผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์ที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน (Steroids)
สเตียรอยด์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นให้เกิดสิว สเตียรอยด์สามารถเพิ่มระดับแอนโดรเจน นำไปสู่การเพิ่มการผลิตน้ำมันและรูขุมขนอุดตัน
สิวฮอร์โมนจากอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) และภาวะทางฮอร์โมนและเมตาบอลิซึมอื่นๆ
เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และเกิดสิว สภาวะนี้จะส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการควบคุมฮอร์โมน ระดับแอนโดรเจนจะเพิ่มขึ้น และตามมาด้วยการเกิดสิว หากใครมีอาการแบบนี้ พี่รัศมีแนะนำไปตรวจภายในกับคุณหมอ เพื่อการรักษาต่อไปค่ะ
สิวจากแบคทีเรีย คืออะไร?
สิวประเภทนี้เกิดจากการเพิ่มแบคทีเรียจำนวนของแบคทีเรียบนผิวหนัง เช่น Propionibacterium acnes หรือ (P. acnes) มีองค์ประกอบคือ น้ำมันส่วนเกินบนผิวหนัง/ เซลล์ผิวที่ตาย/ ขนอ่อน ก่อตัวในรูขุมขน
สิวจากแบคทีเรีย มีลักษณะเฉพาะคือการก่อตัวของสิวหัวดำ สิวหัวขาว ตุ่มหนอง ตุ่มหนอง และซีสต์บนผิวหนังหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจจะเกิดเป็นรอยดำแลรอยแผลเป็นนั่นเองค่ะ
บริเวณที่เกิดสิวแบคทีเรีย: สิวจากแบคทีเรียสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่มักพบบนใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง มีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวจากแบคทีเรีย คือ ฮอร์โมนไม่สมดุล พันธุกรรม ความเครียด และสุขอนามัยที่ไม่ดี
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า คือสิวฮอร์โมนหรือสิวจากแบคทีเรีย?
ลองสังเกตดูนะคะ สมมติว่าช่วงใกล้มีประจำเดือนแล้วสิวบุก สิวเห่อขึ้นมาดื้อๆเป็นแบบนี้ก่อนประจำเดือนมา แสดงว่าสิวพวกนี้ คือ “สิวฮอร์โมน” แน่นอน แต่เมื่อไหร่จู่ๆสิวขึ้นมาเอง หรือหลังจากเราทำความสะอาดหน้าไม่สะอาดพอ พีกผ่อนไม่เพียงพอ ต่างแดดจัดๆ สิวพวกนี้ก็จะเป็นสิวจาก “สิวจากแบคทีเรีย” นั่นเองค่ะ
ตัวเลือกในการรักษาสิวฮอร์โมนและสิวจากแบคทีเรียโดยรวม
การรักษาสิวแบบองค์รวม มีหลากหลายวิธีตามความเหมาะสมค่ะ มีทั้งข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นแล้วควรเลือกวิธีที่เหมาะกับเราที่สุดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย เช่น
การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยยาต้านการอักเสบเฉพาะที่
ยาเฉพาะที่ที่สามารถใช้กับผิวหนังได้โดยตรง ช่วยในเรื่องของลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น คลินดามัยซิน (Clindamycin), อีริโทรไมซิน (Erythromycin), และกรดอะเซลาอิก (Azelaic acid)
การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยยาคุมกำเนิด
เป็นวิธีที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาสิวและคุมกำเนิดไปพร้อมกันค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลกับทุกคนนะคะ เพราะผลข้างเคียงของการใช้ยาคุมมีเยอะพอสมควร ทางที่ดีเราควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เพื่อหาวิธีรักษาสิวฮอร์โมนที่ได้ผลมากที่สุดค่ะ โดยทั่วไปแล้วการรักษาจะเป็นการใช้ยาเม็ดแบบรับประทาน
การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยเรตินอยด์(Retinoids)
เรตินอยด์เป็นยาชนิดหนึ่งจากการสกัดวิตามินเอ สามารถรักษาสิวฮอร์โมนโดยช่วยเปิดรูขุมขน ลดการอักเสบ และช่วยผลัดเซลล์ เรตินอยด์มีทั้งแบบทาและแบบรับประทาน และอาจมีผลข้างเคียง เช่น ผิวแห้งและผิวไวต่อแสงแดด
รักษาสิวฮอร์โมนด้วยยาปฏิชีวนะ
พี่รัศมีแนะนำว่าการใช้ยาปฏิชีวนะควรได้รับการดูแลแบบเคร่งครัดค่ะ หากว่าเราใช้ยาแต่ไม่สม่ำเสมอ อาจจะเกิดเชื้อดื้อยาตามมาและจะทำให้การรักษาสิวของเราแย่ลงไปอีก
กรดไกลโคลิกช่วยในการรักษาสิวฮอร์โมน(Glycolic acid)
เป็นกรดอัลฟาไฮดรอกซี (AHA) ชนิดหนึ่งที่ผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางตัวที่เราใช้กัน จะช่วยผลัดเซลล์ผิวและเปิดรูขุมขน ซึ่งช่วยลดการเกิดสิวได้ ข้อเสียคือทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการแพ้ในบางราย
กรดซาลิไซลิกช่วยในการรักษาสิวฮอร์โมน (Salicylic acid)
กรดซาลิไซลิกเป็น AHA ก็เป็นอีกตัวที่ผสมอยู่ในครีมบำรุงต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์กำจัดเซลล์ผิว ช่วยในเรื่องของผลัดเซลล์ผิวและเปิดรูขุมขน ช่วยลดการเกิดสิว ลดการอักเสบและรอยแดงที่เกิดจากสิว ข้อเสียคือ ผิวแห้งและระคายเคือง
เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ช่วยในการรักษาสิวฮอร์โมน (Benzoyl peroxide)
เป็นยาที่ใช้กับผิวหนังโดยตรงเพื่อรักษาสิว โดยการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ แต่จะทำให้เกิดอาการผิวแห้งและระคายเคืองได้ค่ะ
ตัวเลือกการรักษาสิวจากฮอร์โมน
การใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาต้านแอนโดรเจนในการรักษาสิวจากฮอร์โมน
ซึ่งในบางรายหากว่าไม่เกิดอาการข้างเคียงก็สามารถใช้ยาคุมกำเนิดในการปรับสมดุลของฮอร์โฒนได้ค่ะ แต่หากว่าเลิกทานแล้วก็อาจจะกลับมาเป็นสิวอีกได้ แต่ในบางกรณีที่ต้องคุมกำเนิดไปด้วย พี่รัศมีแนะนำว่าควรทานสม่ำเสมอจะดีกว่าค่ะ ลดความเสี่ยงตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม
การรักษาสิวจากฮอร์โมนโดยเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันและการกิน
เช่น การปรับเปลี่ยนการรัปประทานอาหาร ให้มีผลไม้ ผัก โปรตีน เนื้อไม่ติดมัน และลดความเครียดโดยฝึกสมาธิหรือเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ สามารถช่วยจัดการกับสิวฮอร์โมนได้แน่นอน และที่สำคัญเลยนะคะต้องนอนหลับให้เพียงพอโดยเข้านอนในเวลาที่เหมาะสมและทำให้เป็นกิจวัตรการนอนให้เป็นปกติ
การรักษาสิวจากฮอร์โมนจากการดูแลผิว
ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 เพราะเทื่อผิวเราโดนแดดทุกวันหรืออากาศร้อนก็จะทำให้ผิวมัน ระคายเคืองและกระตุ้นให้สิวเห่อขึ้นไปอีก รวมถึงควรให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวด้วยมอยส์เจอร์ไรเซอร์หรือครีมบำรุงที่ปลอดภัย ไม่อุดตันรูขุมขนจะดีมากเลยจ้า
การยารักษาเฉพาะที่เพื่อรักษาสิวจากฮอร์โมน
การใช้ยาเฉพาะที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น เรตินอยด์และเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ รวมถึงสารผลัดเซลล์ผิว เช่น กรดซาลิไซลิก สามารถลดการอักเสบลงและป้องกันการอุดตันของรูขุมขนและการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่ควรดู%ในการใช้กรดพวกนี้ด้วยนะคะว่าหน้าของเรานั้นเหมาะกับผลิตภัณฑ์แบบไหนมากที่สุด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกซื้อ พี่รัศมีว่าน่าจะดีที่สุดค่า
ตัวเลือกการรักษาสิวจากแบคทีเรีย
รักษาสิวจากแบคทีเรียโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ
เรตินอยด์(Retinoids)
เรตินอยด์จะช่วยลดการอักเสบ ป้องกันการก่อตัวของสิวใหม่ ช่วยผลัดเซล์ผิวที่ตาย ไม่ให้ไปอุดตันรูขุมขนผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เรตินอยด์หาซื้อได้ในรูปแบบของครีมหรือเจล ช่วงแรกๆของการใช้อาจจะทำให้หน้าระคายเคืองค่ะ แต่จะหายไปเองเมื่อใช้ติดต่อกัน
เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์(Benzoyl peroxide)
จะเป็นยาที่ช่วยในการรักษาสิวอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิวและลดการอักเสบ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์มีความเข้มข้นและสูตรต่างกัน ตั้งแต่ 2.5% ถึง 10% ควรเริ่มใช้จากความเข้มข้นที่ต่ำ เพื่อลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นเมื่อต้องใช้ในปริมาณเยอะขึ้นค่ะ จะมาในรูปแบบของโลชั่น หรือ เจล
กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
ตัวกรดซาลิไซลิกเค้าจะช่วยในเรื่องของลดการอักเสบของสิวค่ะ โดยการเปิดรูขุมขน ลดการอักเสบ และผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว กรดซาลิไซลิกเรามักจะเจอใน คลีนเซอร์ โทนเนอร์ และทรีทเมนท์ แต่อาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคืองได้ค่ะ มือใหม่ควรเริ่มจากความเข้มข้นต่ำและค่อยๆ เพิ่ม%ของกรดที่เราจะใช้ในการรักษา เพื่อให้หน้าเราไม่แพ้หรือระคายเคือง
รักษาสิวจากแบคทีเรียโดยขอคำแนะนำจากแพทย์
เมื่อพูดถึงเรื่องของการรักษาโรคผิวหนัง ที่สำคัญที่สุดไม่มีใครให้คำตอบเราได้ดีเท่ากับปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ครีมใดๆในการรักษาค่ะ เพราะว่าหากเราไม่แน่ใจเกี่ยวกับตัวยาที่ใช้ในการรักษา อาจจะเกิดผลข้างเคียงตามมาและทำให้การรักษาแย่ลงได้ เพราะว่าคงไม่มีใครอยากมารักษาแผลเป็นจากสิวอีกใช่มั้ยล่ะคะ พี่รัศมีแนะนำว่าให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ จะดีที่สุดค่ะ
ส่งท้ายบทความ สิวฮอร์โมนกับสิวแบคทีเรีย
สิวฮอร์โมนและสิวอักเสบ ถึงแม้ว่าสาเหตุการเกิดไม่เหมือนกัน เช่น สิวฮอร์โมนเกิดจาก ฮอร์โมนแปรปรวน ช่วงมีประจำเดือน พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการสะสมของแบคทีเรีย การใช้ยาปฏิชีวะ การหยุดใช้ยาคุมกำเนิด และ การเกิดสิวอักเสบคือ เมื่อรูขุมขนอุดตันจากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมกับน้ำมัน และแบคทีเรีย เลยก่อให้เกิดสิวอักเสบนั้นเอง แต่ลักษณะของสิวทั้ง2 ค่อนข้างคล้ายกันคือ เราสามารถรักษาโดยยาใช้ภายนอกตัวเดียวกันได้ แต่ยาบางตัวเราต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการใช้ยาตามมา
เมื่อเรารู้แล้วว่าอะไรคือสาเหตุของการเกิดสิว ก็จะทำให้เรามีแผนสำหรับการรักษาต่อไป ทั้งการรักษาเฉพาะของสิวฮอร์โมน และการรักษาเฉพาะสำหรับสิวจากแบคทีเรีย การรักษาสิวได้ตรงจุดจะทำให้เราประหยัดทั้งเงินและเวลาได้อย่างแน่นอนค่ะ พี่รัศมีก็มีบทความมาแนะทุกคนเช่นกัน หากใครเป็นสิวและไม่มั่นใจกับรอยสิว รอยดำ ที่อ่อนโยนต่อผิว ตามพี่รัศมีมานี้ได้เลย 10 ครีมรักษาแผลเป็นจากสิวที่ดีที่สุดในปี 2023